history1
กองบังคับการตำรวจน้ำ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2495

โดย
พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์

ประวัติกองบังคับการตำรวจน้ำ
กองบังคับการตำรวจน้ำ
MARINE POLICE DIVISION

 

” พิทักษ์ประชาดุจครอบครัว ปกป้องความมั่นคงทางน้ำทั่วหล้า “

 

ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทย เป็นประเทศเกษตรกรรม เครื่องอุปโภคต่าง ๆ ตลอดจนผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมต้องสั่งเข้ามาจากต่างประเทศทั้งสิ้น สินค้าดังกล่าวส่วนใหญ่มาจากประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ดังนั้น เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้อุบัติขึ้น ทางด้านทวีปยุโรป เมื่อปี 2482 ประเทศไทยจึงเกิดความขาดแคลนสินค้าประเภทอุปโภคเป็นอย่างมาก เพื่อแก้ปัญหานี้รัฐบาลในขณะนั้น จึงได้ออกกฎหมายควบคุม คือ พระราชบัญญัติควบ คุมออกไป และการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งสินค้าบางอย่าง พุทธศักราช 2482 ขึ้นฉบับหนึ่ง แต่ในสมัยนั้นการขนส่งสินค้าต่างประเทศส่วนใหญ่จะกระทำโดยทางทะเลการควบคุม ให้มีการปฎิบัติตามกฎหมายดังกล่าว จำเป็นต้องใช้พนักงาน เจ้าหน้าที่ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในทะเล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในขณะนั้นยังขาดแคลนอยู่ นิมิตหมายอันดีจึงเริ่มปรากฏเด่นชัด เมื่อความต้องการมี ตำรวจน้ำไว้ปกป้องคุ้มครอง ผลประโยชน์ของประเทศชาติได้เพิ่มความสำคัญขึ้น จนกระทั่งต่อมา หลังจากทหารญี่ปุ่นได้เคลื่อนทัพสู่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับประเทศญี่ปุ่น และได้ประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2485 ครั้นเมื่อประเทศญี่ปุ่นประกาศยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไขเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2488 อีกส่วนหนึ่งของประเทศไทยภายใต้การนำของกลุ่มเสรีไทยได้ประสานกับสหรัฐ อเมริการและบริเตณใหญ่ให้ประกาศสงครามที่ไทยเราเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ ญี่ปุ่นเป็นโมฆะ สหรัฐอเมริกายอมรับแต่อังกฤษไม่ยอมรับจึงได้มีการเจรจากันเพื่อยุติสงคราม ระหว่างไทยกับอังกฤษ แต่ต่อมาก็ยุติกันได้โดยมีการลงนามในความตกลงเรียกว่า “ความตกลงสมบูรณ์แบบ” เพื่อเลิกสถานะสงครามระหว่างประเทศไทย กับบริเตณใหญ่ และอินเดีย เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2489 ที่ประเทศสิงคโปร์ ความตกลงดังกล่าวซึ่งมีข้อความรวม 24 ข้อ อังกฤษได้บีบบังคับประเทศไทยหลายประการ ที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ ประเทศไทย ต้องให้ข้าวสารโดยไม่คิดมูลค่าจำนวน 1,500,000 ตัน แก่องค์กร ซึ่งอังกฤษจะได้ระบุต่อไป ขณะนั้นทั่วโลกอยู่ในระหว่างขาดแคลนอาหาร อันเป็นผลเนื่องมาจากสงคราม และประเทศไทยได้รับผลเสียหายน้อยในด้านการผลิตอาหาร ข้าวไทยผลิตได้จำนวนมากแต่ราคาตกต่ำ เนื่องจากอุปสรรคในการขนส่งไปจำหน่าย ตรงกันข้าม กับต่างประเทศที่มีราคาสูง การลักลอบนำข้าวออกนอกประเทศทางทะเล จึงเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ประกอบกับประเทศไทย ต้องมีภาระส่งข้าวให้อังกฤษตามตกลงดังกล่าว รัฐบาลมีความจำเป็นต้องควบคุมการส่งออกข้าวและสกัดกั้นการลักลอบส่งข้าวออก นอกประเทศอย่างจริงจัง กฎหมายที่เป็นเครื่องมือในการควบคุมเรื่องนี้ของรัฐบาลมีอยู่ 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการส่งออกนอก และการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งสินค้าบางอย่าง พ.ศ. 2484 และพระราชบัญญัติว่าด้วย การสำรวจและห้ามกักกันข้าว พ.ศ. 2484 กฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ไม่สามารถควบคุมและป้องกันการลักลอบให้หมดสิ้นไปได้ จนกระทั่งได้มีการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป ตามนโยบาย ของรัฐบาลในสมัยนั้น โดยนำเอาเรื่องการลักลอบ ส่งข้าวออกนอกประเทศมากล่าวด้วย ประกอบกับระยะนั้นไม่มีหน่วยราชการใดที่มีพาหนะ คือ เรือที่จะใช้ในการปราบปรามการลักลอบขนสินค้าทางทะเล แม้แต่กรมศุลกากรเอง ซึ่งมีหน้าที่ปราบปรามเรื่องนี้โดยตรง ก็มีเพียงเรือขนาดเล็กไม่สามารถออกปฏิบัติการในทะเลได้ หน่วยงานของรัฐที่มีขีดความสามารถปฏิบัติการในทะเลได้ ขณะนั้นมีเพียงหน่วยงานเดียวคือ กองทัพเรือ ดังนั้นในเดือน ธันวาคม 2490 รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้ทหารเรือเป็นผู้อำนวยการปราบปราม ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 กองทัพเรือมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงกองทัพให้ทันต่อความก้าวหน้าทาง ยุทธวิธี และอาวุธยุทโธปกรณ์แบบใหม่ที่ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา รัฐบาลเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีหน่วยราชการพลเรือนที่สามารถปฎิบัติการปราบ ปรามการกระทำผิดทางทะเล เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติ แทนกองทัพเรือ รัฐบาลจึงมอบหมายให้กระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ร่วมกันพิจารณาเรื่องนี้ผลการพิจารณามติมอบให้กรมตำรวจดำเนินการจัดตั้ง “กองตำรวจน้ำ” ขึ้นโดยให้อยู่ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ในการเตรียมการเพื่อจัดตั้ง กองตำรวจน้ำนั้น กองทัพเรือได้แบ่งงบประมาณให้กรมตำรวจเพื่อจัดตั้งสถานีวิทยุสื่อสารตาม จังหวัดชายทะเล และกรมตำรวจได้สั่งต่อเรือขนาด 60 ฟุต จำนวน 3 ลำจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ใน พ.ศ. 2494 ในระหว่างเตรียมความพร้อมต่าง ๆ กรมตำรวจได้ขอโอนเรือจาก หน่วยดับเพลิงทางน้ำ และหน่วยปราบปรามทางน้ำปากคลองสาน เป็นจำนวน 2 ลำ คือเรือเชวงศักดิ์ (703) และเรือสัญลักษณ์ มีขนาด 30 ฟุต ตลอดจนรับโอนข้าราชการที่สังกัดกองทัพเรือมาสังกัดกรมตำรวจ เมื่อมีการเตรียมการพอสมควรแล้วในปี พ.ศ. 2495 กองตำรวจน้ำ จึงได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พุทธศักราช 2495 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่มที่ 64 ตอนที่ 30 หน้าที่ 1 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2495

รายละเอียด
อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี ได้มอบอำนาจให้ตำรวจน้ำ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1.สั่งห้ามหรือจำกัดมิให้เรือรับจ้างในเขตใด ๆ เมื่อเห็นว่าการเดินเรือจ้างนั้นจะเป็นเหตุให้เกิดความไม่สงบเรียนร้อยหรือ เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชน(ม.5)
2.การฝ่าฝืนตามข้อ1 จะสั่งงดการเดินเรือหรือยึดใบอนุญาตชั่วคราวได้ไม่เกิน 6 เดือน(ม.7)
3.สั่งยึดใบอนุญาตใช้เรือไว้มีกำหนดไม่เกิน 6 เดือน หากฝ่าฝืนใช้เรือที่ไม่มีใบอนุญาตใช้เรือ หรือใบอนุญาตใช้เรือสิ้นอายุ หรือผิดไปจากเขตการเดินเรือ(ม.9)
4.เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อความปลอดภัยแกรการเดินเรือให้มีอำนาจประกาศกำหนด เส้นทางเดินเรือในแม่น้ำลำคลองเป็นการชั่วคราว หากฝ่าฝืนมีอำนาจให้ยึดประกาศนียบัตรควบคุมใช้เรือได้(ม.52 ทวิ)
5.ยึดใบอนุญาตหรือประกาศนียบัตรของผู้ที่ฝ่าฝืนในเรืองความเร็วเกินอัตราที่เจ้าท่ากำหนด(ม.101)
6.มีอำนาจออกคำสั่งห้ามใช้เรือที่มีสภาพไม่ปลอดภัยหรือไม่เหมาะสมกับการใช้งานจนกว่าจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เรียบร้อย(ม.139)
7.มีอำนาจขึ้นไปตรวจตราเรือทุกลำเพื่อความเรียบร้อยถูกต้อง (ม.158)
8.มีอำนาจสั่งพักใบอนุญาตใช้เรือ สำหรับเรือไทยได้รับอนุญาตแล้ว มีอุปกรณ์การเดินเรือที่ไม่ถูกต้องครบถ้วน(ม.160 วรรคแรกและวรรคสอง)
9.สั่งห้ามเรือโดยสารหรือเรือบรรทุกสินค้าโดยสารที่มีสภาพไม่ปลอดภัยต่อคนโดยสารหรือไม่เหมาะกับการใช้งาน(ม.170)
10.สั่งกักเรือลำที่บรรทุกเกินกว่าเส้นแนวน้ำที่กำหนดในใบสำคัญการตรวจเรือ จนกว่าจะดำเนินการให้เรียบร้อย(ม.176)
11.ออกคำสั่งงดใช้ใบอนุญาตหรือใบประกาศนียบัตรกรณีผู้ได้รับหย่อนความสามารถหรือประพฤติตนไม่สมควรแก่หน้าที่ (ม.291)

ข้อมูลทั่วไป
กองบังคับการตำรวจน้ำ เป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐ สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับกิจการ อำนวยการ บริการ ป้องกันปราบปรามในน่านน้ำไทย ซึ่งพื้นที่ในน้ำจะมีสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ งานอยู่หลายส่วน คือ
1. เรือ
2. ท่าเรือ
3. อู่เรือ
4. ทรัพยากรธรรมชาติในน้ำ
5. ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องทางน้ำ
จะเห็นได้ว่า มนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากและเป็นผู้ก่อให้เกิด ปัญหากับสิ่งดังกล่าว ทำให้กองบังคับการตำรวจน้ำจำเป็นที่จะต้องจัดหามาตรการในการดำเนินงาน ทั้งด้านการป้องกัน ปราบปรามส่งเสริม บริการ และดูแลความปลอดภัย เพื่อให้สิ่งเหล่านี้อยู่ในกรอบหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดรวมทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมของสังคมที่กำหนดขึ้นกองบังคับการตำรวจน้ำ จึงได้จำแนกสิ่งที่จะต้องดำเนินการออกเป็นกลุ่มงานใหญ่ๆ ดังนี้
1. งานควบคุมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ประกอบด้วย
1.1 การรักษากฎหมายในทะเล
1.2 การปฏิบัติการด้านการข่าว
1.3 การปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย
1.4 การควบคุมเรือสินค้าในประเทศ
1.5 การควบคุมเรือประมง
1.6 ควบคุมเรือต่างชาติที่เข้ามาในเขตท่าของประเทศไทย
1.7 กำจัดเรือที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
1.8 ปราบปรามการทำลายสิ่งแวดล้อมลงสู่น้ำ
1.9 ปราบปรามการกระทำอันเป็นโจรสลัด (Sea Piracy)
1.10 ปราบปรามเรือผี
1.11 เรือประมงต่างชาติรุกล้ำในน่าน้ำไทย
2. งานรักษาความปลอดภัยการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี
2.1 การคุ้มครองและรักษาทรัพยากรของชาติทางทะเล
2.2 การคุ้มครองเส้นทางการเดินเรือ
2.3 การคุ้มครองบริเวณท่าเรือและสถานที่พักเรือ
2.4 การคุ้มครองบุคคลสำคัญและนักท่องเที่ยว
2.5 ป้องกันการก่อวินาศภัยของเรือเดินทะเล
2.6 ป้องกันการโจรกรรมเรือ
2.7 การคุ้มครองดูและฐานขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติตลอดจนท่อส่งก๊าซในทะเล
3. งานบริการและส่งเสริมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี
3.1 การค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย
3.2 อนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมทางทะเล
3.3 การปฏิบัติการทางเรือ
4. งานวิเทศสัมพันธ์กิจการขนส่งทางน้ำพาณิชยนาวี
4.1 ประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานภายในและภายนอกประเทศ
4.2 กฎหมายและสนธิสัญญา
4.3 ตรวจสอบ ดูแลเรือประมงที่ไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทย


โครงสร้างองค์กร
structure-org

 

ที่ตั้งและพื้นที่รับผิดชอบ
area